ประวัติวอลเลย์บอล ข้อมูล กีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คง อยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ?
วันนี้ผมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันนะครับบ ลองมาดิว่ากีฬาชนิดนี้มีประวัติความเป็นมากันอย่างไร ..
ประวัติวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก
โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)
ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ
กติกาวอลเลย์บอล
สนามแข่งขัน
- จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง
- เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร
- แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร
- เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน
- เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี
ตาข่าย
- จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร
- ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม
- ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร
- ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม
- ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร
- เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม
- ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้
- ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม
ผู้เล่น
- ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน
- สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก
- การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย
วิธีการเล่น
- ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา- การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที
- ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ
- เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น
- สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์
- สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที
- ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง
การคิดคะแนน
- ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ- หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น
- ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อรู้จักกีฬาชนิดนี้กันแล้ว ก็อย่าลืมทำความเข้าใจกติกามารยาทในการแข่งขัน และเล่นกีฬากันอย่างมีน้ำใจนักกีฬากันด้วยนะครับบ ><
นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย
วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เป็นทีมวอลเลย์บอลหญิงของประเทศไทย เป็นทีมที่มีการพัฒนาการเล่นอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 1998 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 2002 จึงได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ในส่วนโควต้าทวีปเอเชียเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นปี ค.ศ. 2007 (ถอนทีมไปแข่งกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่ไทยเป็นเจ้าภาพ) โดยสร้างผลงานได้ดีที่สุดในปี ค.ศ. 2012 ที่สามารถคว้าอันดับ 4 ของการแข่งขันมาครองได้สำเร็จ
ทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทยได้พัฒนาการเล่นมาโดยตลอดจนก้าวขึ้นเป็นทีมระดับแนวหน้าของทวีปเอเชีย โดยคว้าอันดับ 3 การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียได้ 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 2001 และ ค.ศ. 2007 ก่อนสร้างประวัติศาสตร์เมื่อสามารถเอาชนะทีมชาติจีน 3-1 เซต เป็นแชมป์ทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียในปี ค.ศ. 2009 ที่สนามกวนเงือ ประเทศเวียดนาม ทำให้ได้เป็นตัวแทนทวีปเอเชียไปแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพในปี ค.ศ. 2009 จากนั้นในปี ค.ศ. 2012 สามารถสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ได้อีกครั้ง เมื่อสามารถคว้าแชมป์วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียนคัพมาครองเป็นครั้งแรกได้สำเร็จ หลังจากเอาชนะทีมชาติจีนได้อีกครั้ง 3-1 เซต ที่ประเทศคาซัคสถาน ต่อมาในปี ค.ศ. 2013 สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศไทย เมื่อสามารถคว้าแชมป์ในการแข่งขันรายการนี้ได้อีกครั้ง หลังเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่น 3-0 เซตในรอบชิงชนะเลิศ นับเป็นการคว้าแชมป์เอเชียครั้งที่ 2 โดยเป็นการคว้าแชมป์ในประเทศไทยได้เป็นครั้งแรกอีกด้วย จากการคว้าแชมป์ทำให้ได้สิทธิ์ไปแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพที่ประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง ในฐานะแชมป์ของทวีปเอเชีย โดยสร้างผลงานคว้าอันดับ 5 มาครอง
ปัจจุบันทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยเป็นทีมวอลเลย์บอลหญิงอันดับ 12 ของโลก และยังคงเดินหน้าสร้างความสำเร็จต่อไป โดยมีชาวไทยทั่วประเทศสนใจให้การสนับสนุนและติดตามอย่างใกล้ชิด จนถือได้ว่าเป็นทีมกีฬาที่ครองใจในระดับมหาชน
รายชื่อนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย รายการ เอเชี่ยนเกมส์ 2014
ทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทยได้พัฒนาการเล่นมาโดยตลอดจนก้าวขึ้นเป็นทีมระดับแนวหน้าของทวีปเอเชีย โดยคว้าอันดับ 3 การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียได้ 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 2001 และ ค.ศ. 2007 ก่อนสร้างประวัติศาสตร์เมื่อสามารถเอาชนะทีมชาติจีน 3-1 เซต เป็นแชมป์ทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียในปี ค.ศ. 2009 ที่สนามกวนเงือ ประเทศเวียดนาม ทำให้ได้เป็นตัวแทนทวีปเอเชียไปแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพในปี ค.ศ. 2009 จากนั้นในปี ค.ศ. 2012 สามารถสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ได้อีกครั้ง เมื่อสามารถคว้าแชมป์วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียนคัพมาครองเป็นครั้งแรกได้สำเร็จ หลังจากเอาชนะทีมชาติจีนได้อีกครั้ง 3-1 เซต ที่ประเทศคาซัคสถาน ต่อมาในปี ค.ศ. 2013 สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศไทย เมื่อสามารถคว้าแชมป์ในการแข่งขันรายการนี้ได้อีกครั้ง หลังเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่น 3-0 เซตในรอบชิงชนะเลิศ นับเป็นการคว้าแชมป์เอเชียครั้งที่ 2 โดยเป็นการคว้าแชมป์ในประเทศไทยได้เป็นครั้งแรกอีกด้วย จากการคว้าแชมป์ทำให้ได้สิทธิ์ไปแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพที่ประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง ในฐานะแชมป์ของทวีปเอเชีย โดยสร้างผลงานคว้าอันดับ 5 มาครอง
ปัจจุบันทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยเป็นทีมวอลเลย์บอลหญิงอันดับ 12 ของโลก และยังคงเดินหน้าสร้างความสำเร็จต่อไป โดยมีชาวไทยทั่วประเทศสนใจให้การสนับสนุนและติดตามอย่างใกล้ชิด จนถือได้ว่าเป็นทีมกีฬาที่ครองใจในระดับมหาชน
รายชื่อนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย รายการ เอเชี่ยนเกมส์ 2014
1. นุศรา ต้อมคำ
2. ปริญญา พานแก้ว
3. อรอุมา สิทธิรักษ์
4. วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
5. ปลื้มจิตร์ ถินขาว
6. ทัดดาว นึกแจ้ง
7. แก้วกัลยา กมุทะลา
8. มลิกา กันทอง
9. ฐาปไพพรรณ ไชยศรี
10. คัทลีย์ ปิ่นสุวรรณ
11. เอมอร พานุสิทธิ
12. ปิยะนุช แป้นน้อย
2. ปริญญา พานแก้ว
3. อรอุมา สิทธิรักษ์
4. วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
5. ปลื้มจิตร์ ถินขาว
6. ทัดดาว นึกแจ้ง
7. แก้วกัลยา กมุทะลา
8. มลิกา กันทอง
9. ฐาปไพพรรณ ไชยศรี
10. คัทลีย์ ปิ่นสุวรรณ
11. เอมอร พานุสิทธิ
12. ปิยะนุช แป้นน้อย
รายชื่อนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย รายการ AVC CUP 2014
1. นางสาววรรณา บัวแก้ว
2.นางสาวยุพา สนิทกลาง
3.นางสาวหัทยา บำรุงสุข
4.นางสาวสินีนาฏ โพธิ์เจริญ
5.เด็กหญิงชัชชุอร โมกศรี
6.นางสาววณิชยา หล่วงทองหลาง
7.นางสาวจรัสพร บรรดาศักดิ์
8.นางสาวพรพรรณ เกิดปราชญ์
9.นางสาวกัตติกา แก้วพิน
10.นางสาวอัจฉราพร คงยศ
11.นางสาวกรรณิการ์ ธิปะโชติ
12.นางสาวโสรยา พรมหล้า
ผู้จัดการทีม นายถาวร กมุทศรี
ผู้ฝึกสอน นายเกียรติพงศ์ รัชตะเกรียงไกร
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน นายชำนาญ ดอกไม้
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน นายเชิดพันธ์ ทองธรรมชาติ
แพทย์ประจำทีม นายแพทย์อี๊ด ลอประยูร
นักกายภาพ นางสาวรัตน์กมล จิระอำนวยพร
2.นางสาวยุพา สนิทกลาง
3.นางสาวหัทยา บำรุงสุข
4.นางสาวสินีนาฏ โพธิ์เจริญ
5.เด็กหญิงชัชชุอร โมกศรี
6.นางสาววณิชยา หล่วงทองหลาง
7.นางสาวจรัสพร บรรดาศักดิ์
8.นางสาวพรพรรณ เกิดปราชญ์
9.นางสาวกัตติกา แก้วพิน
10.นางสาวอัจฉราพร คงยศ
11.นางสาวกรรณิการ์ ธิปะโชติ
12.นางสาวโสรยา พรมหล้า
ผู้จัดการทีม นายถาวร กมุทศรี
ผู้ฝึกสอน นายเกียรติพงศ์ รัชตะเกรียงไกร
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน นายชำนาญ ดอกไม้
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน นายเชิดพันธ์ ทองธรรมชาติ
แพทย์ประจำทีม นายแพทย์อี๊ด ลอประยูร
นักกายภาพ นางสาวรัตน์กมล จิระอำนวยพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น